ปัญหาที่จอดรถคอนโดไม่พอเป็นปัญหาใหญ่ตลอดกาลที่พวกเราเชื่อกันว่า ไม่มีทางแก้ได้ เราเห็นปัญหาที่คอนโดเราก็จะแก้ที่การจัดการภายในคอนโด หรือไม่ ก็กฎหมาย ควบคุมคอนโด ซึ่งปัญหาหลักก็มาจากบริบทในกฎหมาย แต่เรา แก้ กฎหมายกันเองไม่ได้ เราต้องพึ่งให้คนบางกลุ่มแก้ให้ ซึ่งคนบางกลุ่มที่ว่าจะเสีย ประโยชน์ถ้าแก้ให้เรา เราก็เลยต้อง โชคร้ายกันต่อไป
ผู้อ่านบางคนอาจจะไม่เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นผู้เขียนจึงขออธิบายบริบทข้อกฎหมายด้านที่จอดรถของคอนโดดังนี้
- กฎหมายกำหนดให้มีที่จอดรถขั้นต่ำ 1 ที่ ต่อ 1 ห้องที่มีขนาด 60 ตร.ม.ขึ้นไป หมายความว่า ถ้าห้องของเรามีขนาดไม่ถึง 60 ตร.ม. พื้นที่ห้องของเราจะต้องนำไปคำนวณร่วมกับห้องอื่นๆ เพื่อให้ได้โควต้าของที่จอดรถซัก 1 ช่อง
คอนโดในปัจจุบันถูกสร้างให้เน้นจำนวนห้อง ขนาดห้องเฉลี่ยเลยอยู่ที่ 25 – 30 ตารางเมตรเท่านั้น ลองคำนวณจากสมมติฐานข้างต้น จะพบว่า เราจะได้ 1 ที่จอดรถต่อจำนวน พื้นที่ประมาณ 2-3 ห้องรวมกัน หรือถ้าห้องแต่ละห้องมีคู่รักอยู่กันเป็นคู่ๆ ก็จะเท่ากับว่าคน 4-6 คนมีวิทธิใช้ที่จอดรถแค่ที่เดียว สรุปเป็นสัดส่วน คือ จำนวนคน 4-6 ต่อรถ 1 คัน ดังนั้นเราจะขอนำเสนอทางเลือกการแก้ปัญหาอย่างนอกกรอบด้วยแอปพลิเคชันและ เว็บไซต์ ค้นหาที่จอดออนไลน์ของไทย ดังนี้
8.JUDJOD[1]
“จุดจอด” เป็นแอปพลิเคชัน ค้นหาที่จอดรถของบริษัท อินฟินิท เทคโนโลยี คอร์ปอเรชัน จำกัด ซึ่งเดิมทำธุรกิจเกี่ยวกับระบบที่จอดรถ และจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้ว
แม้ตัวแอปยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ แต่แอปลิเคชนตัวนี้น่าจับตามองอย่างมาก เหตุผลก็เพราะว่าทางบริษัทอินฟินิทเองมีแนวคิดที่จะนำตัวนี้ไปใช้ร่วมกับเทคโนโลยีที่ตัวบริษัทมีอยู่แล้วในมือ เช่น ไม้กั้น และตัวกั้นที่จอดรถอัตโนมัติ ซึ่งอาจปฏิวัติวงการที่จอดรถระบบการรับบัตร รปภ. ที่เราใช้กันอยู่ โดยรูปแบบการจัดการแบบใหม่ คือ ที่จอดรถที่ไม่ต้องมีมนุษย์ดูแลเลยแม้แต่คนเดียว
จุดเด่น
- แสดงผลการค้นหาทั้งหมดบนแผนที่ทำให้เปรียบเทียบระยะทางระหว่างแต่ละจุดได้ง่าย
- แสดงจำนวนที่จอดที่ยังว่างแบบ Real Time และเชื่อถือได้เพราะเอาข้อมูลมาจากอุปกรณ์ของบริษัทเอง
- ใช้งานได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนก่อน
จุดด้อย
- ยังคงเป็นช่วงเริ่มต้น ทำให้จำนวนที่จอดในฐานข้อมูลยังมีอยู่น้อยมาก
- แอปตัวนี้ยังไม่แสดงข้อมูลราคาที่จอดให้
7.ThailandParking.com
หากคุณเป็นยักษ์ใหญ่ในธุรกิจรถยนต์จนไม่รู้จะใหญ่ยังไง คุณจะทำอะไรต่อ ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจทุกคนจะบอกให้คุณขยายธุรกิจไปยังธุรกิจอื่นบ้าง ยักษ์ใหญ่อย่าง บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ กำลังทำเช่นนั้น
หลังจากขยายตลาดมาทำธุรกิจบริหารที่จอดรถ จัดเก็บเงินและดูแลความปลอดภัยในที่จอดรถ ยักษ์ใหญ่เมืองญี่ปุ่นในนามใหม่ว่า Nippon Parking Development ได้นำที่จอดรถทั้งหลายที่ตัวเองดูแลอยู่แล้วมาจุดเรียงบนแผนที่ให้คนที่ต้องการหาที่จอดรถหาที่จอดรถได้ง่ายขึ้น
จุดเด่น
- ฟังก์ชันการค้นหาสะดวกสบาย เนื่องจากเน้นตามพื้นที่และช่วงราคา
- มีความปลอดภัย เพราะตัวบริษัทเองเป็นคนดูแลความปลอดภัยในพื้นที่จอดรถเองอยู่แล้ว ซึ่งเหมาะสำหรับผู้บริหาร หรือกลุ่มคนที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของรถมาก
- ใช้งานได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนก่อน
จุดด้อย
- ข้อมูลน้อยมาก เพราะมีแค่จุดจอดรถที่ตัวเองดูแล
- ไม่มีการค้นหาด้วยจุดพิกัดทางภูมิศาสตร์ หรือแบบคีย์เวิร์ด
แม้อาจจะไม่ใช่แอปพลิเคชันหาที่จอดรถโดยตรง แต่หากคุณเป็นคนที่เดินทาง โดยเครื่องบินไปยังต่างจังหวัด หรือไปต่างประเทศบ่อยๆ แอปพลิเคชันตัวนี้ควรจะต้อง นำไปแปะไว้ในหน้าแรกๆของมือถือคุณ
ที่จอดรถ.com เป็นแอปพลิเคชัน ของ บริษัท แอร์เอกซ์พาร์คส์ จำกัด ซึ่งทำธุรกิจบริการที่จอดรถบริเวณสนามบินดอนเมือง โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ ฝากรถก่อนออกบินไปยังต่างจังหวัดหรือไปต่างประเทศ มีจุดขายที่อัตราค่าบริการ ที่ถูกกว่าลานจอดรถในตัวสนามบินอย่างมากและยังแถมด้วยบริการรถเมย์ รับส่งถึงสนามบินอีกด้วย
จุดเด่น
- เหมาะแก่ผู้ใช้งานที่กำลังมองหาที่จอดก่อนขึ้นเครื่องบินที่สนามบินดอนเมือง
- มีระบบจองที่จอดรถออนไลน์
- มีระบบแชทถามข้อมูลที่จอดรถ
- มีบริการรถบัสรับส่งจากจุดจอดรถไปยังสนามบิน
- ใช้งานได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนก่อน
จุดด้อย
- มีข้อมูลที่จอดรถของตัวเองเพียงเจ้าเดียว
- ยังไม่สามารถค้นหาที่จอดได้บนแผนที่ สามารถค้นหาได้ผ่าน Keyword และ แสดงผลเป็นมุมมองรายการ (List View)
ซึ่งขณะนี้ แอปพลิเคชันได้มีจำนวนการดาวน์โหลดกว่า 1 หมื่นครั้ง และได้เรตติ้ง 4.4 จากผู้ใช้งานกว่า 115 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 18/10/2019) ซึ่งภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ที่จอดรถ.com จะเปิดตัวศูนย์จอดรถอีกแห่งที่ สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งหากคุณเป็นคนที่ต้องเดินทางบ่อยๆ ก็ควรโหลดแอป เก็บเอาไว้ใช้ในยามจำเป็นได้
5.ParkingLot[3]
Parking Lot เป็น แอปพลิเคชันและเว็บไซต์ที่พัฒนาโดย บริษัท เอ็มพี เม็ก จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีการบริหารที่จอดรถรายใหญ่ ของไทย
ความใหญ่ของบริษัทนี้อยู่ที่ผลงานที่เคยทำมา บริษัทนี้เป็นผู้ติดตั้งระบบ โครงการจอดรถใหญ่ๆหลายแห่งทั่วกรุงเทพ เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง อาคารจอดรถในสุวรรณภูมิ อาคารจอดรถกรุงเทพมหานคร โรงแรมและคอนโดอีกหลายแห่ง และที่สำคัญมีอาคารจอดรถเมืองพัทยาและแหลมบาลีฮายอยู่ในมือด้วย
จุดเด่น
- รวบรวมข้อมูลที่จอดรถรอบสถานีรถไฟฟ้าไว้ครบทั้งใต้ดินและบนดิน
- จำนวนข้อมูลที่จอดรถเยอะมาก
- มีการนำเสนอราคาค่าจอด ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจ
- ที่จอดบางจุด มีการ Update ข้อมูลที่ว่างแบบ real-time
- หาที่จอดจากตำแหน่งที่อยู่ได้ ปรับระยะได้ตั้งแต่ 1 – 20 เมตร
- ใช้งานได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนก่อน
จุดด้อย
- ไม่มีระบบการค้นหาจากชื่อสถานที่หรือคีย์เวิร์ด
- ไม่แสดงราคาในหน้าต่างรายชื่อที่จอดรถ ทำให้เปรียบเทียบราคาได้ยาก
- หน้าต่างแสดงที่จอดบนแผนที่ในหน้าเว็บไซต์ มีปัญหา API key ของ Google Map ซึ่งการใช้งานบางครั้งเราจะเห็นหน้าจอเป็นสีดำๆ มองเห็นไม่ชัด
4.Jordsabuy[4]
Jordsabuy เป็นฝีมือของกลุ่มเพื่อนที่ทำขึ้นขณะเป็นนักศึกษาปริญญาโทสาขาวิชาผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] เน้นเอาแนวคิดการ แบ่งปันพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ของชาวบ้านทั่วไปมาปันให้เป็นที่จอดรถของคนที่ต้องการ แนวคิดโมเดลทางธุรกิจนี้ ได้มาจากเว็บไซต์ที่พักอย่าง AirBNB
จุดเด่น
- ใช้การค้นหาแยกประเภทออกจากกัน เป็นรายเดือน รายวันและรายชั่วโมง อย่างชัดเจน
- ราคาที่จอดรถถูกกว่าปกติ อาจเพราะเป็นของประชาชนทั่วไปแบ่งปัน ที่จอดกันเอง
- ใช้งานได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนก่อน
- แสดงผลเป็นแผนที่และรายชื่อที่จอดรถพร้อมกันซ้ายขวา สามารถ เปรียบเทียบราคาและระยะทางได้ง่าย
จุดด้อย
- ยังไม่มีการค้นหาโดยจุดพิกัดเจาะจงที่ๆ เราจะไป
- ฐานข้อมูลยังน้อย
- ระบบการค้นหาที่จอดรายวัน ปัจจุบันยังใช้งานได้ยาก
3. Park&Ride[1]
Park&Ride เป็นเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันของทั้งทาง รัฐและเอกชน ด้วยชื่อโครงการว่า “สาทร โมเดล” ตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาจราจร ตามนโยบายจอดและจรของรัฐบาล เป็นการร่วมกันตั้งแต่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงคมนาคม, คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มูลนิธิ โตโยต้า โมบิลิตี้ และ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด[1]
จุดเด่น
- แสดงผลการค้นหาบนแผนที่เป็นกลุ่ม (คลัสเตอร์) สามารถกดจุดจอดรถ บนแผนที่เพื่อดูรายละเอียดได้ทันที
- จำนวนจอดรถทั้งหมดในฐานข้อมูลมีถึง 114 ตำแหน่ง ซึ่งถือว่าเยอะมาก
- สามารถค้นหาโดยเลือกสถานีรถไฟฟ้า และย่าน/ทำเล
- มีฟังก์ชันให้ดูข้อมูลสถานะจราจรได้บนแผนที่
- มีโหมดจักรยานที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งน่าสนใจมาก
- หน้าต่างรายละเอียดที่จอดรถให้ข้อมูลละเอียดมาก
จุดด้อย
- ไม่มีหน้าต่างแสดงรายชื่อที่จอดพร้อมราคา เพื่อเปรียบเทียบ
- ระบบ การ zoom เข้าและออกยังต้องกดปุ่ม + - ใช้งานยาก
2. ParkNRide (ค้นหาที่จอดรถ)
ParkNRide เป็นแอปพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพสูงจนแทบไม่อยากจะ เชื่อว่าเป็นผลงานการพัฒนาด้วยน้ำมือของคนเพียงคนเดียว ซึ่งพัฒนาโดยคุณ Paweenwat Surin พัฒนาแอปพลิเคชันค้นหาที่จอดรถในนาม ParkNRIde ขึ้นมาให้คนกรุงเทพฯ ได้ใช้งานฟรีๆ แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ได้ทำการตลาด หรือเน้นความสวยงาม แต่ตอบโจทย์ความต้องการหาที่จอดรถของคุณอย่างแน่นอน
จุดเด่น
- ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน
- จำนวนจุดจอดรถที่อยู่ในฐานข้อมูลมีมากที่สุด
- รวบรวมราคาที่จอดรถอย่างละเอียด แสดงตารางให้เห็นเปรียบเทียบตาม จำนวนชั่วโมงที่จอด
- มีข้อมูลถึงขั้นส่วนลดและราคาพิเศษให้ผู้ใช้งานได้เอาไปวางแผนการจอด รถได้ง่ายขึ้น
- แสดงผลได้ทั้งบนแผนที่หรือในรูปแบบมุมมองรายการ (List view)
- การใช้งานสะดวกสบาย เนื่องจากมีฟังก์ชันนำทางได้ทันที
จุดด้อย
- ไม่แสดงจำนวนที่จอดรถรวมหรือ จำนวนที่ว่าง
- ระบบยังไม่เสถียรทำงานช้า
1. Park2go[1]
Park2go เป็นแอปพลิเคชันของบริษัท Park Plus ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับ เครื่องจอดรถอัตโนมัติ ลิฟต์จอดรถ โดยกรรมการผู้จัดการบริษัท คุณอภิราม สีตกะลิน มีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาที่จอดรรถของคนกรุงเทพฯ ด้วยการใช้ลิฟต์จอดรถ ร่วมกับแอปพลิเคชัน โดยเน้นการหาพื้นที่ว่างที่มีจำกัดมาพัฒนาให้สามารถ จอดรถเพิ่มขึ้นได้ในแนวดิ่ง ด้วยการใช้เทคโนโลยีลิฟต์จอดรถและระบบจอดรถ อัตโนมัติ
โดยตัวแอปพลิเคชัน Park2go ยังรวบรวมข้อมูลที่จอดรถทั่วทั้งกรุงเทพและ ปริมณฑลเอาไว้หลายร้อยแห่ง ไม่จำกัดเฉพาะที่จอดรถของตัวบริษัทเอง และยังเปิด โอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมแบ่งปันที่จอดรถ สามารถโพสต์ที่จอดรถของตัวเองได้
จุดเด่น
- มีเวลาเปิดปิดที่จอดรถให้ชัดเจน และถ้าหากกดจองที่จอดหลังเวลาปิด จะจองไม่ได้
- ใช้การแสดงผลบนแผนที่เป็นหลัก ทำให้เห็นภาพรวม
- มีหน้าแสดงผลการค้นหาเรียงตามระยะทางจากจุดค้นหา พร้อมแสดงราคาเปรียบเทียบ
- มีรายละเอียดของที่จอดรถให้อย่างละเอียดถึงขนาดกว้าง และความสูงของที่จอด
- มีข้อมูลที่จอดรถและราคาที่จอดรถจักรยานยนต์ให้ด้วย
- สามารถเลือกคัดกรอง (Filter) จากราคาและระยะทางได้
- มีที่จอดรถในฐานข้อมูลเยอะมาก
- สามารถจองที่จอดรถและชำระเงินผ่านทางออนไลน์ได้ (ปัจจุบันใช้ได้บางจุด)
- มีระบบการแยกสีจุดจอดรถบนแผนที่ให้เห็นว่าที่ไหนที่จอดรถว่างหรือใกล้เต็มบ้าง
- เมื่อเลือกจุดหมายปลายทางแล้ว สามารถนำทางได้ทันที
จุดด้อย
- จำเป็นต้องลงทะเบียนก่อนใช้งาน
- แม้จะมีข้อมูลราคาที่จอดรถทั้งรายเดือน และรายวันด้วย แต่ฟังก์ชันการใช้งานส่วนใหญ่เน้นไปที่การหาที่จอดรถรายชั่วโมงมากกว่า
- ระบบสีสถานะที่ว่างของที่จอดรถ ยังไม่มีคำอธิบายสัญลักษณ์ของข้อมูล
สรุปได้ว่าทั้ง 8 แอปพลิเคชันที่ Tooktee นำเสนอไปนั้น เป็นการนำเสนอ แนวคิดใหม่ในการแก้ปัญหา ด้วยแนวทางการค้นหาที่จอดรถด้วยตัวเราเอง ซึ่งหวังว่าจะช่วย อำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย
[8] http://park2go.co.th/
[7] https://www.toyota.co.th/news/JZ4X7ROX
[5] https://www.tcdcconnect.com/content/10340/
[4] https://jordsabuy.com/
[2] https://www.airxparks.com/
[1] https://www.judjod.com/
ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหว ติดตาม Tooktee (ทุกที่) ผ่านโซเชียลมีเดีย