
วิธีการตรวจสอบสีผังเมืองด้วยตัวเอง เพื่อดูว่าแปลงที่ดินหรือบ้านของเราจัดอยู่ในประเภทใด ตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน สีผังเมืองกรุงเทพ (อัพเดทล่าสุด ปี68) ซึ่งแบ่งออกเป็นโซนตามสีทั้งหมด 13 ประเภท (จริงๆ แล้วมีการแบ่งย่อยอีก) โดยแต่ละสีจะบอกได้ว่าที่ดินนั้นเป็นประเภทไหน และยังส่งผลต่อมูลค่าที่ดินด้วย แม้ว่าระยะห่างจะเพียงไม่กี่เมตรก็ตาม
วิธีเช็คสีผังเมือง ที่ดินจากเลขโฉนด ทำอย่างไร?
สามารถตรวจสอบได้จากแผนที่ผังเเมืองกรุงเทพ หรือ สีผังเมืองรวมของจังหวัด หรือผังเมืองเฉพาะของเทศบาล ซึ่งจะแสดงแผนที่โซนสีที่ดินอย่างละเอียด โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่หน่วยงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด หรือกรมโยธาธิการและผังเมืองและ
สามารถตรวจสอบสีผังเมือง ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ผ่านทางเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชั่น ได้ต่อไปนี้
1. บนแผนที่ TOOKTEE MAP คลิก!!
เว็บไซต์ซื้อขายอสังหาอันดับต้นๆ ของไทย
2.feasyonline.com คลิก!!
เว็บไซต์บริหารพอร์ตอสังหาฯ
3. NOSTRA map Application
บริการระบบค้นหาเส้นทางบนแผนที่ประเทศไทยออนไลน์
4. plludds.dpt.go.th
กรมโยธาธิการและผังเมือง
วิธีเช็คสีผังเมืองบนแผนที่ เว็บ TOOKTEE
เริ่มจากค้นหาทำเลบ้านของคุณจากชื่อซอย ชื่อเขต หรือชื่อโครงการบ้านของคุณ หรือซูมลงบนแผนที่ได้เลย ขณะนี้ TOOKTEE เปิดให้บริการตรวจสอบสีผังเมืองบนแผนที่ใน 3 พื้นที่ ดังนี้
-
ดูผังเมืองรวมกรุงเทพปัจจุบันได้ที่นี่ >> CLICK
-
ดูร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฉบับใหม่ได้ที่นี่ >> CLICK
-
ดูผังเมือง EEC ได้ที่นี่ >> CLICK
หากต้องการเปลี่ยนแปลงโซนสีที่ดินในผังเมือง จะต้องดำเนินการอย่างไร?
เริ่มจากการยื่นคำร้องขอแก้ไขผังเมืองต่อคณะกรรมการผังเมือง จากนั้นจะมีการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และนำเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบและประกาศใช้บังคับผังเมืองที่แก้ไขต่อไป ซึ่งกระบวนการทั้งหมดอาจใช้เวลานาน
การแบ่งโซนสีที่ดินในผังเมืองเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืน ผังเมืองได้กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 13 ประเภท โดยแต่ละสีจะแสดงถึงลักษณะการใช้ที่ดินที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม เกษตรกรรม สถาบันต่างๆ ไปจนถึงพื้นที่โล่งเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม การทำความเข้าใจความหมายของโซนสีที่ดินจะช่วยให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายผังเมือง และร่วมกันสร้างเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป
ตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามตาราง
13 โซนสีที่ดินในผังเมือง และความหมายของแต่ละสี
1. สีเหลือง หมายถึง ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
2. สีส้ม หมายถึง ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
3. สีแดง หมายถึง ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม
4. สีม่วง หมายถึง ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม
5. สีม่วงอ่อน หมายถึง ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ
6. สีน้ำตาล หมายถึง ที่ดินประเภทคลังสินค้า
7. สีเขียว หมายถึง ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
8. สีเขียวอ่อน หมายถึง ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
9. สีเขียวมะกอก หมายถึง ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา
10.สีเทาอ่อน หมายถึง ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา
11.สีน้ำเงิน หมายถึง ที่ดินประเภทสถาบันราชการ
12.สีชมพู หมายถึง ที่ดินประเภทชุมชน
13.สีฟ้า หมายถึง ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมริมฝั่งแม่น้ำ ชายฝั่งทะเล ทะเลสาบและอ่างเก็บน้ำ
Tooktee เปิดรับนายหน้าอสังหาฯ อิสระจำนวนมาก คลิก!!
สนใจติดต่อ Line : @Tooktee บริษัท แอเรีย ว้าว จำกัด (Tooktee Agent)
ข้อกำหนด หรือตัวเลขที่กำกับไว้ที่ผังสีแต่ละประเภท จะเป็นตัวบอกว่าผังสีนั้นๆ สามารถทำอะไรได้บ้าง หรือมีข้อจำกัดอย่างไร
ตัวเลขที่อยู่หลังข้อกำหนด จะแสดงถึงตำแหน่งที่ตั้งที่ดิน (บางครั้งจะใช้คำว่า Block)
เมื่อทราบสีผังเมือง ประเภทและวัตถุประสงค์ของแต่ละผังสีแล้ว การศึกษาว่าผังสีแต่ละสีสามารถพัฒนาโครงการได้หรือไม่ ก็มีความจำเป็นเช่นกัน ทำให้เราทราบว่าที่ดินที่เราถือครองอยู่หรือต้องการนำเสนอขายต่อบริษัทนั้น สามารถใช้ตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินซึ่งศึกษาได้จากตารางสรุปข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ในบทความนี้ ขอนำมาเฉพาะส่วนที่บริษัทใช้ในการพิจารณาเท่านั้น) ดังนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.pruksa.com/land
ตัวอย่างดูสีผังเมือง ตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน : บริเวณถนนรามอินทรา กม.4 (ฝั่งขาออก) พบว่าที่ดินอยู่ในบริเวณผังสีเหลือง ย.4-10 อธิบายได้ดังนี้
ผังสีเหลือง : เป็นที่ดินประเภทที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย - ย.4 : มีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงรักษาการอยู่อาศัยที่มีสภาพแวดล้อมดีในบริเวณชานเมืองซึ่งอยู่ในเขตการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน 1. สามารถพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว ห้องแถว ตึกแถว 2. อาคารอยู่อาศัยรวม พื้นที่ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร ได้โดยไม่ติดเงื่อนไข 3. หากต้องการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยประเภทอาคารอยู่อาศัยรวม พื้นที่ไม่เกิน 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป จะเข้าเงื่อนไข 1* คือ เงื่อนไขตั้งอยู่ริมถนนที่มีเขตทางไม่น้อยกว่า 10 ม./หรืออยู่ในระยะ 500 ม. จากสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน - ผังสีเหลือง ย.4-10 : 1. ทิศเหนือ-ใต้ จะอยู่ในบริเวณถนนรามอินทราฝั่งขาออก (ระยะจากถนนรามอินทราเข้าไปประมาณ 1 กม.) 2. ทิศตะวันออก-ตะวันตก ตั้งแต่ซอยรามอินทรา 5 ถึงแฟลตการเคหะแห่งชาติบางเขน (ก่อนถึงกองบินตำรวจ) ยกเว้นบริเวณแยกลาดปลาเค้าทั้ง 2 ฝั่ง ที่เป็นผังสีแดง พ.1-5
ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหว ติดตาม Tooktee (ทุกที่) ผ่านโซเชียลมีเดีย