สำหรับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ หลายคนต้องคุ้นเคย กับนายหน้าอสังหาฯ หรือตัวแทนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพราะนายหน้าอสังหาฯ สามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการเจรจาซื้อขายและจัดเตรียมเอกสารได้อย่างเชี่ยวชาญ แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่นและเข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย ระหว่าง นายหน้าอสังหาฯกับเจ้าของทรัพย์นั้นคือการทำ “สัญญานายหน้า”
“ในบทความนี้ทาง Tooktee.com จะพาไปรู้จักว่า “สัญญานายหน้า” คืออะไร”
สัญญานายหน้าคืออะไร?
สัญญานายหน้าคือ สัญญาต่างตอบแทนในรูปแบบหนึ่งซึ่งเจ้าของทรัพย์ได้ทำไว้กับนายหน้า เพื่อให้นายหน้านั้นไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ชี้ช่องทาง หรือติดต่อกับอีกฝ่ายหนึ่งจนสามารถตกลงซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นได้ ซึ่งสัญญานายหน้านั้นจะผูกพันระหว่างผู้ว่าจ้างและนายหน้า ทำให้ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่นายหน้าเมื่อทำหน้าที่สำเร็จ
ประเภทของสัญญานายหน้าอสังหาริมทรัพย์
สัญญานายหน้าอสังหาฯที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สัญญานายหน้าแบบเปิด และ สัญญานายหน้าแบบปิด
-
สัญญานายหน้าแบบเปิด
รูปแบบสัญญา คือ เปิดให้เป็นการบอกขายต่อ ๆกันไปโดยไม่ได้มีข้อจำกัดใดๆ ทำให้สามารถใช้นายหน้าได้หลายรายในเวลาเดียวกัน หรือเจ้าของทรัพย์จะขายเองก็ได้ แต่ค่าตอบแทนจะจ่ายให้กับนายหน้าที่สามารถทำให้เกิดการทำสัญญาซื้อขายเพียงรายเดียวเท่านั้น ทั้งนี้การทำสัญญาแบบเปิดจะทำให้มีโอกาสขายอสังหาริมทรัพย์นั้นได้มากกว่าการใช้นายหน้าเพียงรายเดียว หากเจ้าของทรัพย์ขายอสังหาฯ ได้ด้วยตนเองก็ไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่นายหน้าหรือเอเจนต์ใด ๆ ทั้งสิ้น
ตัวอย่างสัญญานายหน้าแบบเปิด ดาวน์โหลดได้ที่ : >>> https://bit.ly/48L2s4g <<<
ข้อดี
-
สามารถใช้นายหน้าหรือเอเจนต์หลาย ๆ คนพร้อม ๆ กันได้
-
ช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย มีโอกาสที่จะขายได้เร็วขึ้น
-
ไม่ปิดโอกาสที่เจ้าของอสังหาฯ จะขายด้วยตนเอง
-
สัญญานายหน้าแบบเปิดมักไม่จำกัดระยะเวลาจึงไม่ต้องต่ออายุสัญญาหรือทำสัญญาใหม่บ่อย ๆ
ข้อเสีย
-
ความพยายามในการขายของนายหน้าอาจจะน้อยกว่า เพราะรับรู้ว่ามีการแข่งขันสูงจากนายหน้ารายอื่น ๆ
-
มีโอกาสที่ทรัพย์สินจะขายออกช้ากว่าเช่นกัน เพราะ การไม่ได้กำหนดระยะเวลาทำให้นายหน้าอาจไม่ได้เร่งรีบในการขาย
-
การใช้นายหน้าหลายคนทำให้เสี่ยงต่อการบวกส่วนต่างเพิ่มเติม
-
สัญญานายหน้าแบบปิด
สัญญาแบบปิดมีรายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่าแบบเปิด สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
-
สัญญานายหน้าแบบปิดทุกราย : เป็นการปิดการขายทุก ๆ ทาง เว้นนายหน้าอสังหาฯหรือเอเจนต์ที่ระบุอยู่ในสัญญาเท่านั้นที่จะมีสิทธิขายและได้ผลตอบแทน
-
สัญญานายหน้าแบบปิดเฉพาะราย : เป็นสัญญาที่นายหน้าจะระบุชื่อผู้ซื้อไว้ เมื่อผู้ซื้อที่รายชื่ออยู่ในรายการชื่อตกลงซื้อไม่ว่าจะผ่านนายหน้าหรือไม่ ก็ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับนายหน้า สัญญาแบบปิดเฉพาะรายนั้นเจ้าของทรัพย์สามารถทำได้กับนายหน้ามากว่าหนึ่งราย โดยที่มีรายการชื่อไม่ตรงกันในนายหน้าแต่ละรายก็ได้
ดังนั้น เจ้าของอสังหาฯ ยังสามารถขายอสังหาฯดังกล่าว ให้กับบุคคลอื่นได้ โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนนายหน้าแต่อย่างใด หรือจะทำสัญญานายหน้าแบบปิดเฉพาะรายกับนายหน้ารายอื่นๆก็ได้ และหากนายหน้าอสังหาฯ พบผู้ซื้อที่สนใจแต่ไม่ใช่บุคคลที่มีชื่อในสัญญา ทางนายหน้าอสังหาฯสามารถแจ้งให้เจ้าของทรัพย์ทราบเพื่อระบุว่าผู้ซื้อดังกล่าวมาจากการขายของตนนั่นเอง
ตัวอย่างสัญญานายหน้าแบบปิด ดาวน์โหลดได้ที่: >>> https://bit.ly/48NvL6b <<<
ข้อดี
-
สามารถทราบได้อย่างชัดเจนว่าผู้ซื้อนั้นมาจากนายหน้ารายไหน
-
เจ้าของทรัพย์ไม่เสียโอกาสที่จะขายเองให้กับบุคคลอื่นที่อยู่นอกเหนือรายชื่อ
-
นายหน้าจะตั้งใจทำการตลาดให้เต็มที่ เพราะไม่ต้องกังวัลเรื่องการแข่งขันระหว่างนายหน้าด้วยกันเอง
ข้อเสีย
-
อาจลดโอกาสที่จะขายอสังหาฯออก เนื่องจากขาดการแข่งขันกันทำให้ข้อมูลการขายกระจายอยู่ในวงแคบ ๆ ตามเครือข่ายของนายหน้าที่ใช้บริการ
จากบทความนี้จะเห็นได้ถึงความสำคัญของ “สัญญานายหน้า” พอสมควรโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการจะขายทรัพย์และใช้บริการนายหน้าอสังหาฯหรือเอเจนต์ หากขาดความรู้ความเข้าใจ ในส่วนไหนก็อาจทำให้นายหน้าหรือเจ้าของอสังหาฯนั้น เกิดความเข้าใจผิด จนอาจไปถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ การมีสัญญานายหน้าช่วยให้เข้าใจประเด็นต่าง ๆ ได้ถูกต้องตรงกันตั้งแต่ตอนต้น และไม่ตกหล่นที่จะตกลงกันในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนและครบถ้วน ทำให้การขายอสังหาริมทรัพย์ผ่านนายหน้าเป็นไปด้วยความเข้าใจ ราบรื่น และรวดเร็วในการทำงานร่วมกัน
ใครไม่อยากพลาดความรู้ดี ๆ อย่างนี้ กดติดตามเพจ TOOKTEE AGENT PRO ไว้เลย
ความรู้บ้านมือสอง ขายบ้านมือสอง ซื้อขายบ้านมือสอง บ้านมือสอง
สนใจซื้อบ้านมือสองราคาพิเศษ หรือเป็นนายหน้าอสังหาฯอิสระ ผ่านระบบ Tooktee
สอบถาม Line : http://line.me/ti/p/~@tooktee
หรือ โทรศัพท์ : 0-2295-3905 ต่อ 125
ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหว ติดตาม Tooktee (ทุกที่) ผ่านโซเชียลมีเดีย