เงินดือนเท่านี้ ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกปี 2562 ได้เท่าไหร่บ้าง?


17 / 11 / 2019

ปีนี้คนที่กำลังมองหาซื้อที่อยู่อาศัยคงได้เห็นโปรโมชั่น ดีลอสังหาริมทรัพย์ราคาพิเศษมากมายจากหลายโครงการ ออกมาล่อตาล่อใจชวนให้เราซื้อบ้านซะเดี๋ยวนี้ แถมยังมีมาตรการพยุงเศรษฐกิจ 2562 หรือ “มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง” ให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ที่คาดว่าจะช่วยลดต้นทุนในการซื้อบ้านของประชาชน แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนเป็นเงินจำนวน 200,000 บาทจริง ๆ นะ เพราะขึ้นอยู่กับฐานภาษีของแต่ละคนด้วย หลายคนคงจะยังไม่เข้าใจว่ามาตรการที่ว่าใช้ได้กับใครบ้าง? และจะได้การลดหย่อนภาษีเท่าไหร่? ไม่ต้องห่วง Tooktee จะมาไขข้อสงสัย ให้คนซื้อบ้านเข้าใจง่ายๆ ได้ดีลอสังหาดี ๆ อย่างสบายใจ

ใครได้ประโยชน์บ้าง?

  • คนที่มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 25,833 บาท/เดือน (กรณีโสด ไม่มีค่าลดหย่อนอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดที่ 60,000 บาทสำหรับผู้มีเงินได้ และไม่ได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม) เพราะหากรายได้ต่ำกว่านี้คุณก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่แล้ว จึงไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้นั่นเอง (อ่านคำอธิบายเพิ่มเติมด้านล่าง)

  • สำหรับผู้ซื้อบ้านพร้อมที่ดิน หรือ คอนโดมิเนียมหลังแรก (ผู้ซื้อต้องไม่เคยมีชื่อในทะเบียน หรือ ไม่เคยเป็นเจ้าของอสังหาฯ มาก่อน)

  • เป็นบ้านพร้อมที่ดิน หรือ คอนโด มือหนึ่ง หรือ มือสองก็ได้

  • มูลค่าบ้านพร้อมที่ดิน หรือ คอนโดไม่เกิน 5 ล้านบาท

  • มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 เมษายน - 31 ธันวาคม 2562

  • หากอยู่ระหว่างดาวน์ จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ เพราะถือว่ายังไม่โอนกรรมสิทธิ์

  • ผู้ซื้อต้องถือครองกรรมสิทธิ์ติดต่อกันอย่างน้อย 5 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ (แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้ซื้อเสียชีวิต หรือกรณีอสังหาริมทรัพย์นั้นสิ้นสภาพไปทั้งหมด)

เงินเดือนเท่าไหร่ จะได้ลดหย่อนภาษีจากการซื้อบ้านไปเท่าไหร่บ้าง?

หลายคนอาจสงสัยว่าการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุด 200,000 บาทในที่นี้ เราจะได้ลดจริงๆ เท่าไหร่กันแน่ ในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได ยิ่งรายได้สุทธิมาก ต้องเสียภาษีมาก ก็ยิ่งมีโอกาสได้ลดหย่อนภาษีมากนั่นเอง ตามสูตรการคำนวณด้านล่างนี้

  • รายได้ = รายได้รวมทั้งปี

  • หักค่าใช้จ่าย = 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
    (สำหรับรายได้ประเภทที่ 1 เงินเดือน และ 2 เงินค่าจ้างทั่วไป)

  • หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
    (ค่าลดหย่อนส่วนตัว ใช้เป็นค่าลดหย่อนแบบเหมา 60,000 บาทต่อปี สำหรับผู้ยื่นภาษีทุกคน)

    ตัวอย่าง: ผู้ไม่ได้รับผลประโยชน์

     

    ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะ คนที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ไม่ได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนนั่นเอง แล้วต้องเงินเดือนเท่าไหร่ ถึงจะได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้?

    ผู้ที่ไม่ต้องเสียภาษีคือ ผู้ที่มีรายได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี

    เราลองคำนวณรายได้สูงสุดในกรณีโสด ไม่มีค่าลดหย่อนอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดที่ 60,000 บาทสำหรับผู้มีเงินได้ และไม่ได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม จะต้องมีเงินเดือนเท่าไหร่จึงจะไม่ต้องเสียภาษี
     

    รายได้สุทธิ = (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อนส่วนตัว)

    150,000 = (รายได้ - 50%ของรายได้แต่ไม่เกิน 100,000 - 60,000)
     

    ผลลัพธ์ : ผู้ที่ไม่ต้องเสียภาษีในกรณีนี้ต้องมีรายได้ไม่เกิน 25,833 บาท/เดือน ซึ่งก็หมายความว่าจะไม่ได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั่นเอง

    ตัวอย่าง: ผู้ได้รับประโยชน์

    แล้วคนที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง จะได้รับผลประโยชน์เท่าไหร่?

    ในกรณีที่นาย A เป็นคนโสด ไม่มีค่าลดหย่อนอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด มีรายได้ทางเดียว เป็นเงินเดือนจำนวน 55,000 บาท ต่อเดือน

    ค่าลดหย่อนที่จะได้รับ = (660,000 – 100,000 – 60,000 - 200,000) x อัตราภาษีตามขั้นบันได

    ค่าลดหย่อนที่จะได้รับ = 300,000 x อัตราภาษีตามขั้นบันได

    หมายความว่าหลังได้รับการลดหย่อน 200,000 บาทแล้ว นาย A จะต้องเสียภาษีเพียง 7,500 บาท ตามการคำนวณภาษีแบบขั้นบันได ดังนี้

     

    เงินได้สุทธิ

    ช่วงของเงินได้

    อัตราภาษี

    จำนวนเงินภาษีแต่ละช่วง (บาท)

    0 - 150,000

    150,000

    0%

    ไม่เสียภาษี

    >150,000 - 300,000

    150,000

    5%

    7,500

    รวมจำนวนเงินต้องเสียภาษี

    7,500

     

    หากนาย A ไม่ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเงินได้ตามมาตรการนี้ จะต้องเสียภาษีตามรายได้สุทธิ 500,000 บาท (ไม่ได้ลดหย่อน 200,000 บาทจากมาตรการ) เป็นเงินจำนวน 27,500 บาท ตามการคำนวณภาษีแบบขั้นบันได ดังนี้
     

    เงินได้สุทธิ (บาท)

    ช่วงของเงินได้

    อัตราภาษี

    จำนวนเงินภาษีแต่ละช่วง (บาท)

    0 - 150,000

    150,000

    0%

    ไม่เสียภาษี

    >150,000 - 300,000

    150,000

    5%

    7,500

    >300,000 - 500,000

    200,000

    10%

    20,000

    รวมจำนวนเงินต้องเสียภาษี

    27,500

     

    สรุป: นาย A สถานะโสด มีรายได้ 55,000 บาทต่อเดือน สามารถต้นทุนการซื้อบ้านหลังแรก ตามมาตรการนี้ไปได้ 20,000 บาท
    (กรณีไม่มีค่าลดหย่อนอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้ทางเดียว)

    เงินภาษีที่จะได้คืนสูงสุดเทียบกับรายได้ต่อเดือน
     

    ช่วงเงินเดือน* (บาท)

    เงินได้สุทธิ (บาท)

    อัตราภาษี

    เงินภาษีที่จะคืนสูงสุด (บาท)

    0 - 25,833

    0 - 150,000

    ยกเว้น

    ไม่ได้ประโยชน์จากมาตรการนี้

    25,834 - 38,332

    >150,000 - 300,000

    5%

    7,500

    38,333 - 55,000

    >300,000 - 500,000

    10%

    20,000

    55,001 - 75,833

    >500,000 - 750,000

    15%

    30,000

    75,834 - 96,666

    >750,000 - 1,000,000

    20%

    40,000

    96,667 - 180,000

    >1,000,000 - 2,000,000

    25%

    50,000

    180,001 - 430,0000

    >2,000,000 - 5,000,000

    30%

    60,000

    >430,000

    >5,000,000

    35%

    มากกว่า 60,000


    *ช่วงเงินเดือนคิดจากสมมุติฐานคนโสด ไม่มีรายได้จากทางอื่น ๆ นอกเหนือจากเงินเดือน และไม่มีค่าลดหย่อนอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด หรือ คำนวณจาก รายได้ - ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อนส่วนตัว

    ทั้งนี้หากคุณมีค่าลดหย่อนต่าง ๆ เพิ่ม เช่น มีคู่สมรส มีบุตร และอื่นๆ จะทำให้เงินได้สุทธิหลังหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ ของคุณต่ำลงอีก เท่ากับว่าต้องเสียภาษีน้อยกว่าคนโสดอยู่แล้ว จึงได้รับผลประโยชน์จาก “มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง” น้อยนั่นเอง

    ไม่น่าแปลกใจที่จะเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์มากมายว่ามาตรการพยุงเศรษฐกิจดังกล่าว อาจไม่ช่วยลดต้นทุนในการซื้อบ้านของประชาชน และไม่กระตุ้นให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ ซื้อบ้านได้มากขึ้นนัก เพราะคนที่มีรายได้น้อยจะไม่ได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีเงินได้ หรือได้รับการลดหย่อนน้อย ส่วนคนที่มีรายได้มากก็มีแนวโน้มสูงที่จะมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองอยู่แล้ว หากซื้อบ้านใหม่ก็จะเป็นบ้านหลังที่สอง หรือ มากกว่านั้น ทำให้ไม่ตรงตามเงื่อนไขของ มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง

    อย่างไรก็ตาม หากคุณเป็นคนที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขดังกล่าว ก็อย่าลืมเก็บเอกสารและหลักฐานการซื้อบ้าน-คอนโด สำหรับยื่นภาษีในปีหน้าได้เลย สำหรับคนที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ก็อย่าได้เสียใจไป เพราะ คนที่สนใจซื้อที่อยู่อาศัยในปีนี้ก็ยังได้รับโปรโมชั่น ดีลอสังหาริมทรัพย์ดี ๆ มากมายจากโครงการต่าง ๆ ของภาคเอกชนที่ทุกรายต่างพยายามกระตุ้นให้เกิดการซื้ออสังหาริมทรัพย์อยู่นั่นเอง

    หากใครกำลังมองหาโปรโมชั่นดี ๆ ดีลอสังหาเด็ด ๆ ที่ทำให้คุณซื้อบ้านได้อย่างคุ้มค่า และรวดเร็ว สามารถค้นหาได้ทางเว็บไซต์ Tooktee เว็บรวมดีลอสังหา ให้คุณช็อปได้อย่างจุใจ เลือกดูดีลทั้งหมดได้ที่นี่ >> https://www.tooktee.com/all-deal

    ที่มา :

    https://www.prachachat.net/finance/news-321611

    https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1476569

    https://www.itax.in.th/pedia/โครงการบ้านหลังแรก

    • รายได้ = รายได้รวมทั้งปี 55,000 x 12 = 660,000 บาท
      (ในกรณีนี้เป็น เงินได้ประเภทที่ 1 คือ เงินได้พึงประเมินในรูปของเงินเดือน หรือค่าตอบแทนจากการทำงานประจำ)

    • หักค่าใช้จ่าย = 50% ของ 660,000 = 330,00 แต่หักค่าใช้จ่ายได้เพียง 100,000 บาท
      (หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท)

    • หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
      (ค่าลดหย่อนส่วนตัว ใช้เป็นค่าลดหย่อนแบบเหมา 60,000 บาทต่อปี สำหรับผู้ยื่นภาษีทุกคน)

    • หักค่าลดหย่อนตามมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง 200,000 บาท

เว็บไซต์อ้างอิง :

ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหว ติดตาม Tooktee (ทุกที่) ผ่านโซเชียลมีเดีย

บทความที่เกี่ยวข้อง
รายการ