เราคงจะเคยได้ยินคำว่า EEC หรือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) จากข่าวหรือบทความกันอย่างหนาหู ว่า “รัฐบาลจะมีการส่งเสริมอุสาหกรรมในเขต EEC” รวมไปถึง “เขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จะปลดล็อกต่างชาติในการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน” เป็นต้น
.
แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า EEC คือที่ดินบริเวณส่วนใดบ้าง ซึ่งหากพิจารณาตามประกาศพรบ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 จะมีเนื้อความว่า พื้นที่ใน EEC นี้ “ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง และเขตจังหวัด อื่นๆ ที่ติดต่อหรือเกี่ยวข้อง”
.
ซึ่งคำว่าครอบคลุมพื้นที่ แต่ไม่ใช่ทุกพื้นที่ 100%
.
ภาพขอบเขตพื้นที่ 3 จังหวัดสำคัญของ EEC
ที่มา: ทีมงาน Tooktee
ตรงไหนคือเขตพัฒนาพิเศษ ???
พิจารณาจากการรายชื่อเขตส่งเสริมที่ประกาศแล้ว ของเว็บไซต์ https://www.eeco.or.th/ ซึ่งปัจจุบันจะพบว่ามีเขตที่ได้รับการส่งเสริมทั้งหมดจำนวน 24 เขต (อัพเดดข้อมูลวันที่ 10 เม.ย. 2562)
.
ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2561 และ 7 พ.ค. 2561 โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบว่าพื้นที่อยู่ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรม ภาคตะวันออกทั้ง 3 จังหวัด ดังนี้
ภาพพื้นที่ส่งเสริมการลงทุนใน EEC
ภาพพื้นที่ส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดฉะเชิงเทรา
จะสังเกตได้ว่าจังหวัดฉะเชิงเทราจะมีเพียงพื้นที่เดียวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน คือ นิคมอุตสาหกรรมที เอฟ ดี 2
ภาพพื้นที่ส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดชลบุรี
ภาพพื้นที่ส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดระยอง
ที่มา: ทีมงาน Tooktee
ปัจจุบันได้มีการกำหนดพื้นที่ดินที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมประมาณเกือบ 9.9 หมื่นไร่ อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัด ภาคตะวันออก
.
โดยจังหวัดที่ได้รับอนุมัติอันดับหนึ่งเป็นพื้นที่ภายในจังหวัดระยอง (57%) รองลงมาเป็นจังหวัดชลบุรี (43%) และจังหวัดฉะเชิงเทรา (1%) ตามลำดับ
ตารางสรุปข้อมูลได้รับอนุญาตเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC) รายจังหวัด
จังหวัด |
พื้นที่ (ไร่) |
% สัดส่วน |
ระยอง |
55,851 |
57% |
ชลบุรี |
42,022 |
43% |
ฉะเชิงเทรา |
841 |
1% |
รวม |
98,715 |
100% |
.
ทั้งนี้ หากมีที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ในพื้นที่ของเขตรับการส่งเสริม จะได้สิทธิพิเศษต่างๆ สรุปได้ดังนี้
.
1. “ผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็นคนต่างด้าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน มีสิทธิถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินภายในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาตได้ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตตามประมวลกฎหมายที่ดิน” หรือสรุปโดยนัยก็คือ ชาวต่างชาติจะสามารถถือครองที่ดินได้ (ระยะเวลาสูงสุดสัญญา 50+49 ปี หรือรวม 99 ปี)
.
ซึ่งหากไม่ใช่พื้นที่ในเขตส่งเสริมฯ ปัจจุบันต่างด้าวหรือชาวต่างชาตินี้ การได้มาของที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยได้จะต้องไม่เกิน 1 ไร่ โดยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และมีเงื่อนไขคือ จะต้องนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท
.
2. ผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมฯ ซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็นคนต่างด้าว ได้รับการยกเว้นจากการจำกัดสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดซึ่งตามกฎหมายอาคารชุด ซึ่งตามปกติคนต่างด้าวหรือชาวต่างชาตินี้ มีสิทธิถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ไม่เกิน 49% ของเนื้อที่ห้องชุดในอาคารชุดนั้นๆ
.
โดยสิทธิพิเศษที่เพิ่มให้ในเขต EEC นี้จะทำให้ต่างชาติสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดนั้นๆ ได้เกินครึ่ง นั่นเอง
.
ซึ่งท่านสามารถเช็คพื้นที่ที่ประกาศ EEC ได้จาก https://www.eeco.or.th/content/รายชื่อเขตส่งเสริมที่ประกาศแล้ว นี้
อย่างไรก็ตามหากท่านไม่มีที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ ECC ก็อย่าได้เสียใจไป เนื่องจากความเจริญก็สามารถกระจายอยู่ในพื้นที่รอบๆ ได้ (แต่ไม่ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับ EEC) โดยทางโครงการฯ ได้มีการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ อันได้แก่ การพัฒนารถไฟความเร็วสูง การพัฒนาทางหลวง รวมไปถึงการพัฒนาสนามบินในพื้นที่ให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์ได้ ตามแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
.
รวมไปถึงเกิดการจ้างงานในพื้นที่ โดยทางโครงการ EEC คาดการณ์ว่าจะทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ถึง 100,000 คนต่อปี ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันไป ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เป็นต้น
.
การส่งเสริมประเภทอุตสาหกรรมใดๆ จะสอดคล้องกับการขออนุญาตของพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษนั้นๆ โดยสามารถดูรายละเอียดสรุปได้จากตารางด้านล่าง
ตารางสรุปประเภทอุตสาหกรรมที่ได้ส่งเสริม แยกพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ
ที่มา: สรุปข้อมูลจาก www.eeco.or.th
ทั้งนี้การเกิดโครงการ EEC หรือระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จากที่ได้กล่าวมา จะส่งผลประโยชน์หรือผลกระทบขึ้นจริงต่อคนในพื้นที่มากน้อยเพียงไร ก็ต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด แต่อย่างไรก็ตามเม็ดเงินในการลงทุนนี้ จะส่งผลต่อการเติบโตของระบบเศรษฐกิจภาคตะวันออกอย่างแน่นอน
ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหว ติดตาม Tooktee (ทุกที่) ผ่านโซเชียลมีเดีย